วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551

บทที่ 9 คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

ลักษณะการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ประกอบด้วยหน่วย (Units) ที่ทำหน้าที่ต่างกัน 4 หน่วย คือ
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นตัวกลางในการรับข้อมูลผ่านอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard) และสแกนเนอร์ (Scanner) โดยพิมพ์หรือวาดรูป เข้าไปในเครื่อง
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ซึ่งจะควบคุมการทำงาน ทั้งหมดของเครื่อง
3. หน่วยความจำ (Memory) เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ เครื่องไว้ ซึ่งมี 2 ชนิดคือ 3.1 ROM (Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่ทำหน้าที่อ่านข้อมูลเพียงอย่างเดียว 3.2 RAM (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำรองที่ทำหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลไว้ชั่วคราวซึ่งหากเราปิดเครื่องจะทำให้ข้อมูลสูญหายได้
4. หน่วยแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ผ่านการดำเนินการตามกรรมวิธีจากหน่วยความจำ แสดงออกมาในรูปแบบ ที่อ่านเข้าใจได้ง่าย อาจจะอยู่ในรูป รายงาน ตาราง กราฟ หรือรูปภาพ โดยผ่านอุปกรณ์แสดงผล เช่น เครื่องพิมพ์หรือ

บทบาทคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน
1. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อทบทวนบทเรียน (Tutor) บางรายวิชาเราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทบทวนบทเรียนได้ ในโปรแกรมทบทวนบทเรียนคอมพิวเตอร์จะเสนอสิ่งเร้า อาจจะเป็นข้อความ คำถาม รูปภาพหรือกราฟิก และอื่นๆ ที่เร้าให้ผู้เรียนตอบสนองและมีการประเมินผล
2. การใช้เป็นเครื่องมือ (Tool) คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนได้ เช่น ใช้ในการคำนวณ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ทางสถิติ และการสร้างกราฟจากข้อมูล เป็นต้น
3. ใช้เป็นเครื่องฝึก (Tutee) การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องฝึกจะทำให้ครูและผู้เรียนได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์ รวมทั้งได้เรียนรู้ถึงการสร้างโปรแกรม หรือการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันมีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องระหว่างคอมพิวเตอร์และการศึกษาคือ "คอมพิวเตอร์ศึกษา" (Computer Education) หมายถึง การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ เช่น การเขียนภาษาโปรแกรมต่าง ๆ การผลิต การใช้ การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware) และซอฟแวร์ (Software) รวมถึงการศึกษาวิธีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อกิจการด้านต่าง ๆ สรุปแล้ว

การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คือ
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการด้านการศึกษา ประกอบด้วยงานหลัก 4 ระบบ
1. คอมพิวเตอร์เพื่อบริหารการศึกษา (Computer for EducationAdministration) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงานด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารงานด้านการศึกษาประกอบด้วยครู ผู้เรียน และเจ้าหน้าที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆเป็นต้น
2. คอมพิวเตอร์เพื่อบริการการศึกษา (Computer for Education Service) หมายถึง การบริการการศึกษาด้านต่าง ๆ เช่น การบริการสารสนเทศการศึกษา
3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน (Computer Assisted Instruction) หมายถึงการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่างๆ
4. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) เป็นการศึกษา การสอน/การฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้ความสามารถและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โดนตรงรวมทั้งการประยุกต์ใช้ และเจตคติต่อคอมพิวเตอร์

การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษา
1. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนโดยตรง เช่น การฉายเนื้อหาประกอบการบรรยาย คอมพิวเตอร์สามารถทำหน้าที่แทนสื่อต่างๆ เช่น แผ่นใส ภาพนิ่ง
2. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มากที่เป็นเอกสารหนังสือ วารสาร โปสเตอร์ ชุดไมโครซอร์ฟออฟฟิต
3. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือการค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้ทั่วไป
4. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนรู้รูปแบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้คอมพิวเตอรืช่วยสอน คือ สื่อการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนในลักษณะสื่อประสมคุณค่าของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน- คิดอย่างมีเหตุผลคือการเรียนการสอนจะเป็นในแง่ฝึกหัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เอง- รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง- ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง- ยอมรับและนับถือตนเอง- รู้จักรับผิดชอบตนเอง- มีพฤติกรรมซื่อสัตย์ต่อตน

คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. สารสนเทศ คือ เนื้อหาสาระที่ได้รับการวิเคราะห์ เรียบเรียงเป็นระบบอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ผู้สร้างหรือออกแบบบทเรียนกำหนดไว้
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนแต่ละคนมีความถนัดในการเรียนรู้ต่างกัน การศึกษาบทเรียนรายบุคคลทำใก้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสะดวก
3. การโต้ตอบ ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนออกแบบให้มีการตอบโต้ในบทเรียนจะมีผลดี ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจในการตอบโต้ในทันที

ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. บทเรียน เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาในลักษณะของบทเรียน โปรแกรมที่เสนอเนื้อหาเป็นส่วนย่อยๆ เป็นการเรียนแบบการสอนของครู
2. ฝึกทักษะและปฏิบัติ
3. จำลองแบบ
4. เกมทางการศึกษา
5. การสาธิต
6. การทดลอง
7. การไต่ถาม
8. การแก้ปัญหา
9. แบบรวมวิธีต่างๆเข้าด้วยกันข้อดีและข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนข้อดี ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัดของตนข้อจำกัด อาศัยอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นสำคัญ ทำให้ไม่สะดวก มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ

อินเตอร์เน็ตคือ
เครือข่ายข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงติดต่อกันทั่วโลก ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติการ
1. มาตรฐานการสื่อสาร LAN,MAN,WAN ใช้ชื่อว่า TCP/IPTCP ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องในการรับส่งข้อมูลIP กำหนดที่อยู่หรือแอดเดรสของคอมพิวเตอร์
2. การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
- การเชื่อมต่อโดยตรง จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายเชื่อมต่อกับโครงข่ายหลักหรือแบ็กโบน โดยต้องมีเราเตอร์ในการเชื่อมต่อ เพื่อขอชื่อโดเมนแล้วติดตั้งเกตเวย์เป็นแบ็กโบน
- การเชื่อมต่อผ่านผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต ใช้สายโทรศัพท์ต่อเข้ากับโมเด็ม
3. ประเภทของอินเตอร์เน็ต
- อินทราเน็ต สื่อสารเฉพาะในองค์การเท่านั้น
- เอ็กทราเน็ต เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ภายนอกระหว่างองค์การกับองค์กับองค์การหรือบุคคล
4. อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
- การค้นคว้า
- การเรียนและติดต่อสื่อสาร
- การศึกษาทางไกล
- การเรียนการสอนอินเตอร์เน็ต
- การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต
5. การค้นคว้าความรู้ทางอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต
เนื่องมาจากอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีข้อมูลทุกประเภทเก็บอยู่อย่างมากมาย มีการสร้างเว็บไซต์ไว้บนอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่มีเครื่องอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูลที่เราต้องการได้การเรียนรู้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมการเรียนรู้ขจากสื่อทุกชนิด ที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการบันทึก การจัดระบบ

การเผยแพร่เพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนลักษณะสำคัญของ อี-เลิร์นนิ่ง
1. การนำเสนอสาระสนเทศในรูปของสื่อประสม เนื้อหาสาระที่นำเสนอให้ผู้เรียนควรมีลักษณะหลากหลายแบบประกอบกัน
2. การขยายโอกาสเกี่ยวกับผู้เรียน สถานที่เรียน เวลาในการเรียน
3. การยืดหยุ่นในการเรียนรู้ การเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนไม่จำเป็นต้องเรียนตามลำดับขั้น ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหัวข้อใดก่อน/หลัง ได้ตามความสนใจ
4. การโต้ตอบหรือการมีปฆิสัมพันธ์ บทเรียนต้องได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนมีชีวิตชีวาจากการนำเสนอสาระสนเทศในลักษณะสื่อประสม และการโต้ตอบกับบทเรียน โดยการตอบคำถามในแบบฝึกหัดและตรวจคำตอบได้ด้วยตนเอง
5. การป้อนผลย้อนกลับ ผู้เรียนต้องได้รับผลการเรียนรู้ทันทีทันใด เมื่อกระบวนการเรียนแต่ละตอนสิ้นสุดลง